top of page
เทคนิคระดมสมอง
เทคนิคแผนที่ความคิด

แผนที่ความคิดซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โทนี บูซาน ในปี ค.ศ. 1970  โดยมีหลักการว่า ข้อมูลที่สลับซับซ้อนสามารถนำมาจัดเป็นระบบให้ง่ายขึ้นได้ด้วยการสร้างเป็นรูปภาพ โดยมีหลักการว่าจะต้องวิเคราะห์ให้เห็นว่า องค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบย่อย เมื่อวิเคราะห์ได้แล้วก็ให้นำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดเรียงเป็นกลุ่มตามคุณลักษณะหรือหน้าที่ของมันโดยสร้างเป็นแผนภูมิของรูปภาพ เรียกว่า แผนที่ความคิดเป็นเทคนิคที่ใช้ในการจดบันทึก และการจัดการความคิดเพื่อตอบสนองความต้องการของสมองทั้งสองซีก  โดยสมองซีกซ้ายคิดเชิงตรรกะ  สมองซีกขวาคิดเชิงจินตนาการ  แผนที่ความคิดสามารถนำไปใช้ได้กับกิจกรรมเกือบทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดความจำ  การวางแผนและการแก้ปัญหาต่างๆ

เทคนิคกระบวนการกลุ่มที่ช่วยแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่รู้จักกันมากก็คือ วิธีที่เรียกว่า การระดมสมอง (Brainstorming) โดยมีหลักการอย่างกว้าง ๆ ว่า ต้องการจะได้วิธีการแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธีโดยไม่มีการประเมินหรือตัดสินว่า วิธีการอย่างใดเหมาะหรือไม่เหมาะ โดยอเล็กซ์ ออสบอร์น (Alex Osborn, 1957)

เป็นเทคนิคการคิดของ เดอโบโนมีเทคนิคที่ใช้กันอยู่หลายเทคนิค โดยเน้นการสอนหลักการคิดแนวข้างเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างแนวคิดขึ้นนั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือ การคิดออกไปจากกรอบที่ครอบงำและการสร้างแนวคิด

เทคนิคนี้อาจเรียกว่าเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปไมย (Analogy) แต่มีลักษณะพิเศษตรงที่จะต้องเพิ่มกลไกทางจิตวิทยาในการวิเคราะห์ปัญหาเข้าไปก่อน ซึ่งกลไกในทางจิตวิทยาที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหามีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย กับการทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (กอร์ดอน, 1961 อ้างถึงใน ยงยุทธ ณ นคร, 2540)

               1.  การทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย คือ การทำความเข้าใจต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่โดยการเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิมในอดีต และการแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนประกอบย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย

               2.  การทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก การที่จะให้ได้คำตอบในเชิงสร้างสรรค์นั้นจำเป็นจะต้องช่วยกันมองปัญหาในแนวใหม่ ก็คือช่วยกันทำปัญหาที่คุ้นเคยกันอยู่แล้วให้แปลกไปจากความเคยชิน หรือสามัญสำนึก

เทคนิคการคิดแนวข้าง
เทคนิคซินเน็คติคส์

เทคนิคที่ใช้ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์.

 

ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สามารถนำเทคนิควิธีที่มีอยู่หลากหลายมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษาได้ ซึ่งเทคนิคที่นำมาใช้ในโครงการนี้ มีดังนี้

bottom of page