top of page

บทเรียนเรื่องความคิดสร้างสรรค์



คำอธิบายเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรรค์ ในแง่ของศิลปะการดำรงชีวิต

โดย มล.นิพาดา เทวกุล

3 มกราคม 2014

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

ดาวน์โหลด เอกสารคำอธิบายเรื่องความคิดสร้างสรรค์



ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี KMUTT
 1 พฤศจิกายน 2013

Creative Thailand



นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ Creative Thailand

 6 พฤศจิกายน 2014

แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์



ทดลองทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์สนุกๆ ผ่านเว็บ


 10 กันยายน 2013

วันนี้คุณลองพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แล้วหรือยัง???

เกี่ยวกับโครงการ

 

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียน และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จากการเรียนบน Website โดยผ่านการสร้างแผนที่ความคิดบนคอมพิวเตอร์ เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดขั้นสูงที่จะช่วยให้เกิดความคิดแปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร มีคุณค่า และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 



ในยุคปัจจุบันมีการนำความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) มาใช้ร่วมกับศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น การเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry) ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Business) เนื่องด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางการคิดขั้นสูงที่สำคัญในการนำไปสู่ความคิดใหม่ ๆ สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ เพราะการสร้างสรรค์จะทำให้เกิดความแปลกใหม่ น่าสนใจและนำไปสู่ความสำเร็จ ผลการวิจัยรายงานว่า 94 เปอร์เซ็นต์ของคนหนุ่มสาวให้คะแนนเรื่อง 'การประสบความสำเร็จ' เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการสร้างสรรค์เป็นทักษะสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ (Edward De Bono, 2007)

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถทางการคิดของมนุษย์อันนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ด้วยการคิดดัดแปลงปรุงแต่งจากความคิดเดิมผสมผสานให้เป็นสิ่งใหม่ และรวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทั่วไปที่ทุกคนมี ลักษณะเด่นของความคิดสร้างสรรค์ก็คือ การคิดได้หลายทิศทางโดย Guilford กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองเป็นลักษณะความคิดเอกนัย (Divergent Thinking) คือความคิดหลายทิศทาง หลายแง่ หลายมุม คิดได้กว้างไกล ซึ่งลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่รวมถึงความคิด ค้นพบ วิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จด้วย ความคิดเอกนัยประกอบด้วยลักษณะความคิดริเริ่ม (Originality) ความคล่องในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นทางการคิด (Flexibility) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ผลจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ทำให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ดังจะเห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย มีคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนา อย่างเหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล หากสังคมมีคนที่มีความคิดสร้างสรรค์อยู่เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ประเทศชาติเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนคนที่มีความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นที่ต้องการของสังคม

ความคิดสร้างสรรค์กับการใช้คอมพิวเตอร์เป็น Cognitive Tools

 

ในอดีตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสดงทักษะการคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาอย่างมากสามารถจัดประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน ส่งเสริมผู้เรียนโดยใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนแสดงความคิดของตนออกมาในรูปแบบของแผนที่ความคิด (Mind Mapping)โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างแผนที่ความคิด ซึ่งเป็นไปตามหลักการแผนที่ความคิดของบูซาน (Buzan, 2004) เป็นหลักการจดบันทึกความคิด มโนทัศน์ ความเห็น ความเชื่อ ความเข้าใจ แผนวิธี แนวทางในการแก้ปัญหา และความคิดใหม่ ๆ ที่แสดงความสัมพันธ์กันด้วยการเชื่อมโยงความคิดระดับต่าง ๆ ด้วยเส้นและคำเชื่อมที่เหมาะสม แผนที่ความคิดสามารถนำไปใช้ได้กับกิจกรรมแทบทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาความคิด เทมเพิล (Temple, 2004) กล่าวว่าแผนที่ความคิดสามารถนำไปใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ จากการศึกษาทฤษฎี บทความ งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แผนที่ความคิด พบว่าวิธีการที่ใช้แผนที่ความคิดในการจัดการเรียนการสอนสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้ (Leaf, 1997) นอกจากนั้นผลการวิจัยเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนว่า เด็กที่วาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์จะมีคะแนน Inventory of Piaget’s Development Task (IPDT) สูงกว่าเด็กที่ใช้กระดาษและดินสอ (Ledford, 1990 อ้างถึงใน อุดม หอมคำ, 2546)

 

bottom of page